(http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=node/144) ได้กล่าวถึงการประเมินผลการเรียนรู้ว่า
ช่วงศตวรรษที่
20
การวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่คะแนนจากแบบทดสอบที่อิงบรรทัดฐานตามสถานศึกษาที่เน้นเพียงด้านความรู้
หากนำมาใช้กับโมเดลการศึกษาในศตวรรษที่ 21
ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ ซึ่งได้แก่ ความรู้ ทักษะ
และความเชี่ยวชาญที่ผู้เรียนต้องมีเพื่อความสำเร็จในการทำงานและการดำรงชีวิต
โดยมีลักษณะการบูรณาการทั้งคุณธรรมและความรู้
แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาผู้เรียนด้านสมองและจิตใจต้องควบคู่กันไปโดยไม่แยกส่วน
คงไม่สามารถนำมาวัดได้อย่างครอบคลุม โดย แนวโน้มของการประเมินผลในศตวรรษที่ 21 จะอยู่บนพื้นฐานของการประเมินพหุมิติ เช่น ด้านความรู้ ด้านความรู้สึก
และทักษะการปฏิบัติทุกด้าน
ซึ่งในการประเมินสามารถประเมินระหว่างเรียนและประเมินสรุปรวม โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการประเมิน
2. พิจารณาขอบเขต
เกณฑ์ วิธีการ และสิ่งที่จะประเมิน เช่น ประเมินพัฒนาการทางพฤติกรรมและบุคลิกภาพ
ทักษะการทำงานเป็นทีม ขอบเขตที่จะประเมิน เช่น ด้านความรู้ ทักษะ
ความรู้สึกและคุณลักษณะ
3. กำหนดองค์ประกอบและผู้ประเมินว่ามีใครบ้างที่จะประเมิน
เช่น ผู้เรียน อาจารย์ประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม
4. เลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือในการประเมินที่มีความหลากหลายเหมาะกับวัตถุประสงค์และเกณฑ์การประเมิน
เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม เป็นต้น
5. กำหนดเวลาและสถานที่ที่จะประเมิน
เช่น ประเมินระหว่างการทำกิจกรรม ระหว่างการทำงานกลุ่มและโครงการ
วันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ เหตุการณ์ เป็นต้น
6. วิเคราะห์ผลและการจัดการข้อมูลการประเมิน
โดยนำเสนอรายการกระบวนการ แฟ้มสะสมผลงาน การบันทึกข้อมูล ผลการสอบ
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
เครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการประเมินนั้นมีหลากหลายขึ้นกับความเหมาะสมกับสถานการณ์และสามารถประเมินความรู้
ความสามารถของผู้เรียนได้ตามความสามารถจริงโดยมีตัวอย่างดังนี้
-
การสังเกต (Observation) เป็นกระบวนการที่ผู้สังเกตทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกพฤติกรรมหรือกลุ่มหรือการกฎการณ์ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษาโดยอาศัยประสาทสัมผัสของผู้สังเกตเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้หรือข้อมูลเพื่อใช้ในการศึกษา
นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้ยังขึ้นอยู่กับการรับรู้
ทัศนคติตลอดจนประสบการณ์ของผู้สังเกตด้วย
ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตจะถูกต้องเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดจึงขึ้นอยู่กับตัวผู้สังเกตเป็นสำคัญ
-
การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเทคนิควิธีการรวบรวมข้อมูลแบบหนึ่งสำหรับใช้ในการประเมิน
ทางการศึกษาที่อาศัยการเก็บข้อมูลโดยมีผู้สัมภาษณ์เป็นผู้ถามและจดบันทึกคำตอบ
และมีผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นผู้ให้ข้อมูล
รายการคำถามหรือชุดคำถามที่ผู้สัมภาษณ์ใช้ถามจะเรียกว่า “แบบสัมภาษณ์”
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลสำหรับการวัดผลการประเมินผลและการวิจัย
-
แบบสอบถาม (Questionair) เป็นชุดของข้อคำถามหรือข้อความที่สร้างและจัดเรียงลำดับไว้อย่างเป็นระบบ
เพื่อใช้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ความเชื่อ และความสนใจต่างๆ
-
แบบทดสอบวัดความสามารถจริง (Authentic Test) เป็นลักษณะคำถามปลายเปิดเน้นให้ผู้เรียนตอบข้อคำถามในลักษณะการนำความรู้ความเข้าใจ
และประสบการณ์เดิมจากสถานการณ์จำลองหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีระดับของสภาพจริงในชีวิต
บูรณาการความรู้ความสามารถหลายด้าน มีคำตอบถูกหลายคำตอบ
-
บันทึกของผู้เรียน (Learning log) ผู้เรียนพูดหรือเขียนบรรยายสะท้อนความรู้
ความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ วิธีการทำงาน และคุณลักษณะของผลงาน -
การตรวจผลงาน เป็นวิธีการที่สามารถนำผลประเมินไปใช้ทันที
และควรดำเนินการตลอดเวลาเพื่อการช่วยเหลือผู้เรียน
และเพื่อปรับปรุงการสอนของอาจารย์
-
แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้เรียน
ผลงาน การปฏิบัติซึ่งในการรวบรวมควรใช้วิธีการเก็บข้อมูลหลายๆ วิธีผสมผสานกัน
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลาย ครอบคลุมพฤติกรรมทุกด้าน และมีจำนวนมากพอที่จะใช้ในการประเมินผลผู้เรียน
-
แบบสำรวจรายการ
เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้รวดเร็วกว่าการบันทึกพฤติกรรม
ซึ่งการบันทึกแบบตั้งใจที่จะดูพฤติกรรมหรือการเรียนรู้ว่าเกิดหรือไม่
ในการประเมินจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่มีเหมาะสมสอดคล้องกับสิ่งที่จะวัดและมีความน่าเชื่อถือได้
ด้วยเหตุนี้การกำหนดเกณฑ์และวิธีการสร้างเกณฑ์การให้คะแนนจึงเป็นสิ่งสำคัญ
เนื่องจากมีการปฏิบัติ ไม่มีการเฉลยเหมือนแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ
การให้คะแนนนั้นเป็นการให้คะแนนตามความรู้สึกของผู้ตรวจ
จึงได้มีผู้เสนอวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการปฏิบัติงาน ผลงาน
และจากพฤติกรรมการสแดงออกของผู้เรียน การกำหนดแนวการให้คะแนน หรือรูบริค (Rubric)
เป็นวิธีการที่ทำให้การพิจารณาผลงานมีความยุติธรรม
เนื่องจากได้มีการกำหนดเกณฑ์หรือแนวทางการให้คะแนนไว้ล่วงหน้าแล้ว
โดยการให้คะแนนรูบริคมี 2 แบบ คือ
แบบที่
1 เกณฑ์การให้คะแนนเป็นภาพรวม (holistic scoring rubric) คือ แนวทางในการให้คะแนนโดยพิจารณาจากภาพรวมของชิ้นงาน จะมีคำ
อธิบายลักษณะของงานในแต่ละระดับไว้อย่างแล้วเขียนอธิบายคุณภาพของงานหรือความสำเร็จของงานเป็นชิ้นๆ
เกณฑ์การประเมินในภาพรวม สำหรับการให้คะแนนรูบริคส่วนใหญ่จะประกอบด้วย 3–6 ระดับ ซึ่งไม่แยกคะแนนออกเป็นแต่ละองค์ประกอบหรือรายการ
วิธีการนี้ใช้ง่ายและประหยัดเวลา อาจแบ่งวิธีการให้คะแนนหลายวิธี เช่น
วิธีที่ 1 แบ่งตามคุณภาพเป็น 3 แบบ คือ
แบบที่ 1 งานและเขียนคำอธิบายลักษณะของงานที่มีคุณภาพเป็นพิเศษ
แบบที่ 2 งานและเขียนคำอธิบายลักษณะของงานมีคุณภาพที่ยอมรับได้
แบบที่ 3
งานและเขียนคำอธิบายลักษณะของงานมีคุณภาพยอมรับได้น้อย
วิธีที่
2 กำหนดระดับความผิดพลาด คือ
พิจารณาความบกพร่องจากการปฏิบัติหรือคำตอบว่ามีมากน้อยเพียงใด
โดยหักจากคะแนนสูงสุดลดลงมาทีละระดับ ตัวอย่างเช่น
ให้นักศึกษาทำโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์แล้วให้คะแนนดังนี้
0 คะแนน
หมายถึง ไม่ตอบหรือตอบไม่ถูก
1 คะแนน หมายถึง แสดงวิธีการคิดแต่ไม่ครบทุกขั้นตอน และไม่ได้คำตอบ
2 คะแนน หมายถึง แสดงวิธีการคิดทุกขั้นตอนมีแนวทางที่จะไปสู่คำตอบ
แต่คำนวณผิดพลาด คำตอบผิด
3 คะแนน หมายถึง แสดงวิธีการคิดทุกขั้นตอน แต่วิธีการผิดบางขั้นตอน
คำตอบถูกต้อง
4 คะแนน หมายถึง แสดงวิธีการคิดทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง คำตอบถูกต้อง
วิธีที่
3 กำหนดระดับการยอมรับและคำอธิบาย
ดังตัวอย่างของการประเมินความสามารถในการเข้าใจเนื้อหาสาระ
0 คะแนน หมายถึง ไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ
1 คะแนน หมายถึง การแสดงออกให้เห็นถึงการเข้าใจในหลักการ ความคิดรวบยอด
ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดได้น้อยมากและเข้าใจไม่ถูกบางส่วน
2 คะแนน หมายถึง การแสดงออกถึงความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์
ครบถ้วนถูกต้องในหลักการ ความคิดรวบยอด
ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดไว้ในบางส่วน
3 คะแนน หมายถึง การแสดงออกถึงความเข้าใจที่สมบูรณ์
ครบถ้วนถูกต้องในหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดไว้
4 คะแนน หมายถึง การแสดงออกถึงความเข้าใจที่สมบูรณ์
ครบถ้วนถูกต้องในหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดไว้
รวมทั้งเสนอแนวคิดใหม่ที่แสดงออกถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงกฏเกณฑ์
แบบที่
2
เกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบ (analytic scoring rubric)
เกณฑ์นี้ใช้มาตรวัดหรือคะแนนแยกลักษณะของผลงาน กระบวนการ
หรือพฤติกรรมเป็นแต่ละองค์ประกอบหรือรายการ
โดยผู้สอนให้คะแนนแต่ละองค์ประกอบย่อยหรือรายการ แล้วจึงนำมารวมเป็นคะแนนทั้งหมด
วิธีนี้ใช้เวลามาก ในรายละเอียดของแต่ละระดับจะมีประโยชน์เมื่อต้องการวินิจฉัยหรือเข้าใจผู้เรียนให้เข้าถึงสิ่งที่คาดหมายได้จากข้อมูลการประเมิน
(http://reg.ksu.ac.th/teacher/yahvaret/lession1.html)
ได้กล่าวถึงการประเมินผลการเรียนรู้ว่า
ความหมายของการวัดผล
การทดสอบ และการประเมินผล
การวัดผลการ
(Measurement)
หมายถึง กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ
โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข
หรือสัญลักษณ์เช่น นายแดงสูง 180 ซม. (เครื่องมือ คือ
ที่วัดส่วนสูง)วัตถุชิ้นนี้หนัก 2 ก.ก (เครื่องมือ คือ
เครื่องชั่ง)
การทดสอบการศึกษา
หมายถึง
กระบวนการวัดผลอย่างหนึ่งที่กระทำอย่างมีระบบเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถของบุคคล
โดยใช้ข้อสอบหรือคำถามไปกระตุ้นให้สมองแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา
การประเมินผล
(Evaluation)
หมายถึง การตัดสิน หรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผลเช่น
ผลจากการวัดความสูงของนายแดงได้ 180 ซม.
ก็อาจประเมินว่าเป็นคนที่สูงมากผลจากการชั่งน้ำหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งได้ 2 ก.ก ก็อาจจะประเมินว่าหนัก - เบา หรือ เอา- ไม่เอา
บลูม (Bloom)
และคณะ ได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น 3
ลักษณะ
วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด (วัดด้านสมอง)
วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด (วัดด้านจิตใจ)
วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย
ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
(วัดด้านการปฏิบัติ)
จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
1. วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน
หมายถึง การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดอย่างไร
แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน
2. วัดผลเพื่อวินิจฉัย
หมายถึง การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า
ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ
3. วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง
หมายถึง
การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า
ใครควรได้อันที่ 1 2 3
4. วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน
หมายถึง การวัดผลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนเอง เช่น การทดสอบก่อนเรียน
และหลังเรียนแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน
5. วัดผลเพื่อพยากรณ์
หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต
6. วัดผลเพื่อประเมินผล
หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสิน
หรือสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ
ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
มาตราการวัด
1. มาตรานามบัญญัติ
เป็นมาตรการวัดที่ใช้กับข้อมูลเป็นเพียงการเรียกชื่อ
หรือจำแนกชนิดหรือสัญลักษณ์กับสิ่งต่าง ๆ ไม่สามารถบอกปริมาณมากน้อยได้
แสดงให้เห็นเพียงความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ เช่นการจำแนกคนเป็นเพศหญิง-ชาย หมายเลขโทรศัพท์
ทะเบียนรถ
2. มาตราเรียงอันดับ
สามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้ หรือเป็นการจัดอันดับข้อมูลได้ว่ามาก - น้อย
สูง-ต่ำดี-ชั่ว
3. มาตราอันตรภาค
สามารถบอกความห่างระหว่างสองตำแหน่งได้ เช่น การวัดอุณหภูมิ หรือเซลเซียส
4. มาตราสัดส่วน
เป็นมาตราการวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง มีศูนย์แท้ ซึ่งแปลว่าไม่มีอะไร
หรือเริ่มต้นจาก 0เช่น ความสูง 0 นิ้ว
ก็แปลว่าไม่มีความสูง หรือน้ำหนัก 0 กิโลกรัม
ก็เท่ากับไม่มีน้ำหนัก
หลักการวัดผลการศึกษา
1. ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
คือ การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอนของครูว่า
นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด
2. เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม
การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ ใช้เครื่องมือวัดหลาย ๆ
อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์
3. ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด
เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด
ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู
4. ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง
เช่น คะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและมีความยุติธรรม
5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า
จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน
ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น-ด้อยในเรื่องใด
และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่ละคนให้ดีขึ้น
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
ความหมายของการวัดผล
การทดสอบ และการประเมินผล การวัดผลการ ( Measurement) หมายถึง กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ
โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์
เช่น นายแดงสูง 180 ซม . ( เครื่องมือ คือ ที่วัดส่วนสูง ) วัตถุชิ้นนี้หนัก 2 ก .
ก ( เครื่องมือ คือ เครื่องชั่ง ) การทดสอบการศึกษา หมายถึง
กระบวนการวัดผลอย่างหนึ่งที่กระทำอย่างมีระบบเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถของบุคคล
โดยใช้ข้อสอบหรือคำถามไปกระตุ้นให้สมองแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา
การประเมินผล
( Evaluation)
หมายถึง การตัดสิน หรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผลเช่น
ผลจากการวัดความสูงของนายแดงได้ 180 ซม . ก็อาจประเมินว่าเป็นคนที่สูงมาก
ผลจากการชั่งน้ำหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งได้ 2 ก . ก ก็อาจจะประเมินว่าหนัก - เบา
หรือ เอา – ไม่เอา
ลักษณะพฤติกรรมที่ต้องวัด
บลูม ( Bloom) และคณะ
ได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น 3 ลักษณะ
1.
วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แก่
การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด ( วัดด้านสมอง )
2. วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด (
วัดด้านจิตใจ )
3.
วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ได้แก่
การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (
วัดด้านการปฏิบัติ )
จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
1.
วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง
การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดอย่างไร
แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญ
งอกงามตามศักยภาพของนักเรียน
2.
วัดผลเพื่อวินิจฉัย หมายถึง การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า
ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ
3.
วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง หมายถึง
การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า
ใครควรได้อันที่ 1 2 3
วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน
หมายถึง การวัดผลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนเอง เช่น การทดสอบก่อนเรียน
และหลังเรียนแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน 5. วัดผลเพื่อพยากรณ์ หมายถึง
การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต 6. วัดผลเพื่อประเมินผล หมายถึง
การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสิน หรือสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษาว่า
มีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
สรุป
การวัดการประเมินผลการเรียนรู้
การประเมินผล
( Evaluation)
หมายถึง การตัดสิน หรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผลเช่น
ผลจากการวัดความสูงของนายแดงได้ 180 ซม . ก็อาจประเมินว่าเป็นคนที่สูงมาก
ผลจากการชั่งน้ำหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งได้ 2 ก.ก ก็อาจจะประเมินว่าหนัก - เบา
ลักษณะพฤติกรรมที่ต้องวัด
1.
วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
2. วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
3.
วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย
จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
1. วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน
2. วัดผลเพื่อวินิจฉัย
3. วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง
4. วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน
5. วัดผลเพื่อพยากรณ์ หมายถึง
การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต
6. วัดผลเพื่อประเมินผล
หลักการวัดผลการศึกษา
1. ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
คือ การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอนของครูว่า
นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด
2. เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม
การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ ใช้เครื่องมือวัดหลาย ๆ
อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์
3. ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด
เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด
ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู
4. ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง
เช่น คะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและมีความยุติธรรม
5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า
จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน
ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น-ด้อยในเรื่องใด
และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่ละคนให้ดีขึ้น
อ้างอิง
(http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=node/144).
การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2558.
(http://reg.ksu.ac.th/teacher/yahvaret/lession1.html).ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดการประเมินผล. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2558.
(http://www.slideshare.net/ssusera4dfe0/ss-9345840).การประเมินผลการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2558.