วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความสำคัญของการเรียนรู้



           ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2546 : 29) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของสังคม

          เมธาวี เวียงเกตุ (2539 : 121) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้มีความสำคัญก่อให้เกิดความรู้ เป็นหลักการ ทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งถูกนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันบุคคลที่ปรับตัวได้ดีและมีชีวิตทีเป็นสุขย่อมมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้ต่างๆ แล้วสรุปประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการเรียนรู้ ข้อคิด และนำไปประยุกต์ใช้ในครั้งต่อไป

           สุชาติ ศิริสุขไพบูลย์ (2528 : 1) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาความสามารถ พฤติกรรม และลักษณะนิสัยของบุคคลให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการเรียนจึงมีผลต่อชีวิตคนเราทุกแง่ทุกมุมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนวิชาชีพจะเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตในสังคมได้โดยตรง

สรุป
      การเรียนรู้เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาความสามารถ พฤติกรรม ลักษณะนิสัยของแต่ละคนให้สามารถดำรงชีวิต และปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดความรู้ เกิดเป็นหลักการ ซึ่งถูกนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  เป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตในสังคมโดยตรง

อ้างอิง
          ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์.  (2546).  จิตวิทยาการศึกษา.  กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
          เมธาวี เวียงเกตุ.  (2539).  เอกสารประกอบการเรียนการสอนจิตวิทยาทั่วไป(1050101).                            ม.ป.ท.: ม.ป.ท.
          สุชาติ ศิริสุขไพบูลย์.  (2528).  ทฤษฎีการเรียนรู้ม.ป.ท.: ม.ป.ท.

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความหมายของการเรียนรู้


       ประสาท อิศรปรีดา (2538 : 196) ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือศักยภาพของพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากประสบการณ์

            สุรางค์ โค้วตระกูล (2541 : 185) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงปริมาณความรู้ของผู้เรียน

         มาลี จุฑา (2542 : 55) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ว่า  การเรียนรู้เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองบ่อยครั้ง จนในที่สุดกลายเป็นพฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นมาอย่างถาวร

สรุป
      การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือศักยภาพของพฤติกรรม ที่เกิดขึ้นโดยการเชื่องโยงระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองบ่อยครั้งหรือเกิดจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรืออาจเกิดจากการฝึกหัด จนกลายเป็นพฤติกรรมของคนเราที่ปรากฏขึ้นค่อนข้างถาวร

อ้างอิง
          ประสาท อิศรปรีดา. (2538). สารัตถะจิตวิทยาการศึกษากรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์.
          มาลี จุฑา. (2542). จิตวิทยาการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
          สุรางค์ โค้วตระกูล. (2541). จิตวิทยาการศึกษากรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.