วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

การวัดการประเมินผลการเรียนรู้

(http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=node/144) ได้กล่าวถึงการประเมินผลการเรียนรู้ว่า

ช่วงศตวรรษที่ 20 การวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่คะแนนจากแบบทดสอบที่อิงบรรทัดฐานตามสถานศึกษาที่เน้นเพียงด้านความรู้ หากนำมาใช้กับโมเดลการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ ซึ่งได้แก่ ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญที่ผู้เรียนต้องมีเพื่อความสำเร็จในการทำงานและการดำรงชีวิต โดยมีลักษณะการบูรณาการทั้งคุณธรรมและความรู้ แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาผู้เรียนด้านสมองและจิตใจต้องควบคู่กันไปโดยไม่แยกส่วน คงไม่สามารถนำมาวัดได้อย่างครอบคลุม โดย แนวโน้มของการประเมินผลในศตวรรษที่ 21 จะอยู่บนพื้นฐานของการประเมินพหุมิติ เช่น ด้านความรู้ ด้านความรู้สึก และทักษะการปฏิบัติทุกด้าน ซึ่งในการประเมินสามารถประเมินระหว่างเรียนและประเมินสรุปรวม โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการประเมิน
2. พิจารณาขอบเขต เกณฑ์ วิธีการ และสิ่งที่จะประเมิน เช่น ประเมินพัฒนาการทางพฤติกรรมและบุคลิกภาพ ทักษะการทำงานเป็นทีม ขอบเขตที่จะประเมิน เช่น ด้านความรู้ ทักษะ ความรู้สึกและคุณลักษณะ
3. กำหนดองค์ประกอบและผู้ประเมินว่ามีใครบ้างที่จะประเมิน เช่น ผู้เรียน อาจารย์ประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม
4. เลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือในการประเมินที่มีความหลากหลายเหมาะกับวัตถุประสงค์และเกณฑ์การประเมิน เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม เป็นต้น
5. กำหนดเวลาและสถานที่ที่จะประเมิน เช่น ประเมินระหว่างการทำกิจกรรม ระหว่างการทำงานกลุ่มและโครงการ วันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ เหตุการณ์ เป็นต้น
6. วิเคราะห์ผลและการจัดการข้อมูลการประเมิน โดยนำเสนอรายการกระบวนการ แฟ้มสะสมผลงาน การบันทึกข้อมูล ผลการสอบ
       เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการประเมินนั้นมีหลากหลายขึ้นกับความเหมาะสมกับสถานการณ์และสามารถประเมินความรู้ ความสามารถของผู้เรียนได้ตามความสามารถจริงโดยมีตัวอย่างดังนี้
- การสังเกต (Observation) เป็นกระบวนการที่ผู้สังเกตทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกพฤติกรรมหรือกลุ่มหรือการกฎการณ์ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษาโดยอาศัยประสาทสัมผัสของผู้สังเกตเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้หรือข้อมูลเพื่อใช้ในการศึกษา นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้ยังขึ้นอยู่กับการรับรู้ ทัศนคติตลอดจนประสบการณ์ของผู้สังเกตด้วย ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตจะถูกต้องเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดจึงขึ้นอยู่กับตัวผู้สังเกตเป็นสำคัญ
- การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเทคนิควิธีการรวบรวมข้อมูลแบบหนึ่งสำหรับใช้ในการประเมิน ทางการศึกษาที่อาศัยการเก็บข้อมูลโดยมีผู้สัมภาษณ์เป็นผู้ถามและจดบันทึกคำตอบ และมีผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นผู้ให้ข้อมูล รายการคำถามหรือชุดคำถามที่ผู้สัมภาษณ์ใช้ถามจะเรียกว่า แบบสัมภาษณ์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลสำหรับการวัดผลการประเมินผลและการวิจัย
- แบบสอบถาม (Questionair) เป็นชุดของข้อคำถามหรือข้อความที่สร้างและจัดเรียงลำดับไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อใช้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ความเชื่อ และความสนใจต่างๆ
- แบบทดสอบวัดความสามารถจริง (Authentic Test) เป็นลักษณะคำถามปลายเปิดเน้นให้ผู้เรียนตอบข้อคำถามในลักษณะการนำความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมจากสถานการณ์จำลองหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีระดับของสภาพจริงในชีวิต บูรณาการความรู้ความสามารถหลายด้าน มีคำตอบถูกหลายคำตอบ
- บันทึกของผู้เรียน (Learning log) ผู้เรียนพูดหรือเขียนบรรยายสะท้อนความรู้ ความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ วิธีการทำงาน และคุณลักษณะของผลงาน - การตรวจผลงาน เป็นวิธีการที่สามารถนำผลประเมินไปใช้ทันที และควรดำเนินการตลอดเวลาเพื่อการช่วยเหลือผู้เรียน และเพื่อปรับปรุงการสอนของอาจารย์
- แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้เรียน ผลงาน การปฏิบัติซึ่งในการรวบรวมควรใช้วิธีการเก็บข้อมูลหลายๆ วิธีผสมผสานกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลาย ครอบคลุมพฤติกรรมทุกด้าน และมีจำนวนมากพอที่จะใช้ในการประเมินผลผู้เรียน
- แบบสำรวจรายการ เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้รวดเร็วกว่าการบันทึกพฤติกรรม ซึ่งการบันทึกแบบตั้งใจที่จะดูพฤติกรรมหรือการเรียนรู้ว่าเกิดหรือไม่
ในการประเมินจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่มีเหมาะสมสอดคล้องกับสิ่งที่จะวัดและมีความน่าเชื่อถือได้ ด้วยเหตุนี้การกำหนดเกณฑ์และวิธีการสร้างเกณฑ์การให้คะแนนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากมีการปฏิบัติ ไม่มีการเฉลยเหมือนแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ การให้คะแนนนั้นเป็นการให้คะแนนตามความรู้สึกของผู้ตรวจ จึงได้มีผู้เสนอวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการปฏิบัติงาน ผลงาน และจากพฤติกรรมการสแดงออกของผู้เรียน การกำหนดแนวการให้คะแนน หรือรูบริค (Rubric) เป็นวิธีการที่ทำให้การพิจารณาผลงานมีความยุติธรรม เนื่องจากได้มีการกำหนดเกณฑ์หรือแนวทางการให้คะแนนไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยการให้คะแนนรูบริคมี 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 เกณฑ์การให้คะแนนเป็นภาพรวม (holistic scoring rubric) คือ แนวทางในการให้คะแนนโดยพิจารณาจากภาพรวมของชิ้นงาน จะมีคำ อธิบายลักษณะของงานในแต่ละระดับไว้อย่างแล้วเขียนอธิบายคุณภาพของงานหรือความสำเร็จของงานเป็นชิ้นๆ เกณฑ์การประเมินในภาพรวม สำหรับการให้คะแนนรูบริคส่วนใหญ่จะประกอบด้วย 3–6 ระดับ ซึ่งไม่แยกคะแนนออกเป็นแต่ละองค์ประกอบหรือรายการ วิธีการนี้ใช้ง่ายและประหยัดเวลา อาจแบ่งวิธีการให้คะแนนหลายวิธี เช่น
วิธีที่ 1 แบ่งตามคุณภาพเป็น 3 แบบ คือ
แบบที่ 1 งานและเขียนคำอธิบายลักษณะของงานที่มีคุณภาพเป็นพิเศษ
แบบที่ 2 งานและเขียนคำอธิบายลักษณะของงานมีคุณภาพที่ยอมรับได้
 แบบที่ 3 งานและเขียนคำอธิบายลักษณะของงานมีคุณภาพยอมรับได้น้อย
วิธีที่ 2 กำหนดระดับความผิดพลาด คือ พิจารณาความบกพร่องจากการปฏิบัติหรือคำตอบว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยหักจากคะแนนสูงสุดลดลงมาทีละระดับ ตัวอย่างเช่น ให้นักศึกษาทำโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์แล้วให้คะแนนดังนี้
          0 คะแนน หมายถึง ไม่ตอบหรือตอบไม่ถูก
1 คะแนน หมายถึง แสดงวิธีการคิดแต่ไม่ครบทุกขั้นตอน และไม่ได้คำตอบ
2 คะแนน หมายถึง แสดงวิธีการคิดทุกขั้นตอนมีแนวทางที่จะไปสู่คำตอบ แต่คำนวณผิดพลาด คำตอบผิด
3 คะแนน หมายถึง แสดงวิธีการคิดทุกขั้นตอน แต่วิธีการผิดบางขั้นตอน คำตอบถูกต้อง
4 คะแนน หมายถึง แสดงวิธีการคิดทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง คำตอบถูกต้อง
วิธีที่ 3 กำหนดระดับการยอมรับและคำอธิบาย ดังตัวอย่างของการประเมินความสามารถในการเข้าใจเนื้อหาสาระ
0 คะแนน หมายถึง ไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ
1 คะแนน หมายถึง การแสดงออกให้เห็นถึงการเข้าใจในหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดได้น้อยมากและเข้าใจไม่ถูกบางส่วน
2 คะแนน หมายถึง การแสดงออกถึงความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ ครบถ้วนถูกต้องในหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดไว้ในบางส่วน
3 คะแนน หมายถึง การแสดงออกถึงความเข้าใจที่สมบูรณ์ ครบถ้วนถูกต้องในหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดไว้
4 คะแนน หมายถึง การแสดงออกถึงความเข้าใจที่สมบูรณ์ ครบถ้วนถูกต้องในหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดไว้ รวมทั้งเสนอแนวคิดใหม่ที่แสดงออกถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงกฏเกณฑ์
แบบที่ 2 เกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบ (analytic scoring rubric) เกณฑ์นี้ใช้มาตรวัดหรือคะแนนแยกลักษณะของผลงาน กระบวนการ หรือพฤติกรรมเป็นแต่ละองค์ประกอบหรือรายการ โดยผู้สอนให้คะแนนแต่ละองค์ประกอบย่อยหรือรายการ แล้วจึงนำมารวมเป็นคะแนนทั้งหมด วิธีนี้ใช้เวลามาก ในรายละเอียดของแต่ละระดับจะมีประโยชน์เมื่อต้องการวินิจฉัยหรือเข้าใจผู้เรียนให้เข้าถึงสิ่งที่คาดหมายได้จากข้อมูลการประเมิน

(http://reg.ksu.ac.th/teacher/yahvaret/lession1.html) ได้กล่าวถึงการประเมินผลการเรียนรู้ว่า

ความหมายของการวัดผล การทดสอบ และการประเมินผล
การวัดผลการ (Measurement) หมายถึง กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์เช่น นายแดงสูง 180 ซม. (เครื่องมือ คือ ที่วัดส่วนสูง)วัตถุชิ้นนี้หนัก 2 ก.ก (เครื่องมือ คือ เครื่องชั่ง)
การทดสอบการศึกษา หมายถึง กระบวนการวัดผลอย่างหนึ่งที่กระทำอย่างมีระบบเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถของบุคคล โดยใช้ข้อสอบหรือคำถามไปกระตุ้นให้สมองแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา
การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การตัดสิน หรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผลเช่น ผลจากการวัดความสูงของนายแดงได้ 180 ซม. ก็อาจประเมินว่าเป็นคนที่สูงมากผลจากการชั่งน้ำหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งได้ 2 ก.ก ก็อาจจะประเมินว่าหนัก - เบา หรือ เอา- ไม่เอา
บลูม (Bloom) และคณะ ได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น 3 ลักษณะ
วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด (วัดด้านสมอง)
วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด (วัดด้านจิตใจ)
วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (วัดด้านการปฏิบัติ)

จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
1. วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดอย่างไร แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน
2. วัดผลเพื่อวินิจฉัย หมายถึง การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ
3. วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง หมายถึง การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า ใครควรได้อันที่ 1 2 3
4. วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนเอง เช่น การทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน
5. วัดผลเพื่อพยากรณ์ หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต
6. วัดผลเพื่อประเมินผล หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสิน หรือสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร

มาตราการวัด
1. มาตรานามบัญญัติ เป็นมาตรการวัดที่ใช้กับข้อมูลเป็นเพียงการเรียกชื่อ หรือจำแนกชนิดหรือสัญลักษณ์กับสิ่งต่าง ๆ ไม่สามารถบอกปริมาณมากน้อยได้ แสดงให้เห็นเพียงความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ เช่นการจำแนกคนเป็นเพศหญิง-ชาย หมายเลขโทรศัพท์ ทะเบียนรถ
2. มาตราเรียงอันดับ สามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้ หรือเป็นการจัดอันดับข้อมูลได้ว่ามาก - น้อย สูง-ต่ำดี-ชั่ว
3. มาตราอันตรภาค สามารถบอกความห่างระหว่างสองตำแหน่งได้ เช่น การวัดอุณหภูมิ หรือเซลเซียส
4. มาตราสัดส่วน เป็นมาตราการวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง มีศูนย์แท้ ซึ่งแปลว่าไม่มีอะไร หรือเริ่มต้นจาก 0เช่น ความสูง 0 นิ้ว ก็แปลว่าไม่มีความสูง หรือน้ำหนัก 0 กิโลกรัม ก็เท่ากับไม่มีน้ำหนัก

หลักการวัดผลการศึกษา
1. ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน คือ การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอนของครูว่า นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด
2. เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ ใช้เครื่องมือวัดหลาย ๆ อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์
3. ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู
4. ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง เช่น คะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและมีความยุติธรรม
5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น-ด้อยในเรื่องใด และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่ละคนให้ดีขึ้น

(http://www.slideshare.net/ssusera4dfe0/ss-9345840) ได้กล่าวถึงการปรเมินผลการเรียนรู้ไว้ว่า

การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
ความหมายของการวัดผล การทดสอบ และการประเมินผล การวัดผลการ ( Measurement) หมายถึง กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ เช่น นายแดงสูง 180 ซม . ( เครื่องมือ คือ ที่วัดส่วนสูง ) วัตถุชิ้นนี้หนัก 2 ก . ก ( เครื่องมือ คือ เครื่องชั่ง ) การทดสอบการศึกษา หมายถึง กระบวนการวัดผลอย่างหนึ่งที่กระทำอย่างมีระบบเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถของบุคคล โดยใช้ข้อสอบหรือคำถามไปกระตุ้นให้สมองแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา       
การประเมินผล ( Evaluation) หมายถึง การตัดสิน หรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผลเช่น ผลจากการวัดความสูงของนายแดงได้ 180 ซม . ก็อาจประเมินว่าเป็นคนที่สูงมาก ผลจากการชั่งน้ำหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งได้ 2 ก . ก ก็อาจจะประเมินว่าหนัก - เบา หรือ เอา – ไม่เอา

ลักษณะพฤติกรรมที่ต้องวัด บลูม ( Bloom)  และคณะ ได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น 3 ลักษณะ
1. วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย   ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด ( วัดด้านสมอง )
2. วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย   ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ( วัดด้านจิตใจ )
3. วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย   ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ( วัดด้านการปฏิบัติ )

จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
1. วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดอย่างไร แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญ งอกงามตามศักยภาพของนักเรียน
2. วัดผลเพื่อวินิจฉัย หมายถึง การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ
3. วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง หมายถึง การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า ใครควรได้อันที่ 1 2 3
วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนเอง เช่น การทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน 5. วัดผลเพื่อพยากรณ์ หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต   6. วัดผลเพื่อประเมินผล หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสิน หรือสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษาว่า มีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา

สรุป การวัดการประเมินผลการเรียนรู้
การประเมินผล ( Evaluation) หมายถึง การตัดสิน หรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผลเช่น ผลจากการวัดความสูงของนายแดงได้ 180 ซม . ก็อาจประเมินว่าเป็นคนที่สูงมาก ผลจากการชั่งน้ำหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งได้ 2 ก.ก ก็อาจจะประเมินว่าหนัก - เบา

ลักษณะพฤติกรรมที่ต้องวัด 
1. วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย  
2. วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย  
3. วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย  

จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
1. วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน
2. วัดผลเพื่อวินิจฉัย
3. วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง
4. วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน 5. วัดผลเพื่อพยากรณ์ หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต
6. วัดผลเพื่อประเมินผล

หลักการวัดผลการศึกษา
1. ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน คือ การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอนของครูว่า นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด
2. เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ ใช้เครื่องมือวัดหลาย ๆ อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์
3. ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู
4. ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง เช่น คะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและมีความยุติธรรม
5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น-ด้อยในเรื่องใด และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่ละคนให้ดีขึ้น

อ้างอิง
(http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=node/144). การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน.                                            สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2558.
(http://reg.ksu.ac.th/teacher/yahvaret/lession1.html).ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดการประเมินผล.                        สืบค้นเมื่อ  21 สิงหาคม 2558.
(http://www.slideshare.net/ssusera4dfe0/ss-9345840).การประเมินผลการเรียนรู้.                                              สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2558.




วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การเรียนรู้แบบเรียนรวม

(http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10.)
ได้กล่าวถึงการเรียนรู้แบบรวมไว้ว่า
การศึกษาแบบเรียนรวม
การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล

ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือ จะต้องถือหลักการดังนี้
เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

ศึกษาแบบเรียนรวมมีรูปแบบใด
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ การศึกษาแบบเรียนรวมจะมีบรรยากาศที่เป็นจริงตามสภาพของสังคมในปัจจุบัน ซึ่งทุกคนในโรงเรียนจะมีความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิความเสมอภาคในด้านการศึกษา มีความแตกต่างกันตามศักยภาพในการเรียนรู้ มีความร่วมมือช่วยเหลือกันและกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ ฝึกทักษะความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข มีความยืดหยุ่นและปฏิบัติตนตามสภาพจริงได้อย่างเหมาะสม

ศึกษาแบบเรียนรวมมีหลักการใด
การศึกษาแบบเรียนรวม มีหลักการว่า เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะเรียนรวมกันโดยโรงเรียนและครูจะต้องปรับสภาพแวดล้อม หลักสูตรวัตถุประสงค์ เทคนิคการสอน สื่ออุปกรณ์ การประเมินผลเพื่อให้ครูและโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองความต้องการของเด็กทุกคนเป็นรายบุคคลได้

แนวคิดและปรัญญาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน โดยปลูกฝังด้านจิตสำนึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนโดยคำนึงถึงศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล หรือความบกพร่องเฉพาะบุคคล ซึ่งจะให้สิทธิเท่าเทียมกันทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษเฉพาะ

ปรัญญาของการศึกษาแบบเรียนรวม
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาเพื่อทุกคน (Education for All) เพราะเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ดังนั้นความต้องการของเด็ก ๆ ทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันแม้อยู่ในชั้นเรียนเดียวกัน โรงเรียนและครูจึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เด็กทุกคนเรียนรวมกันและได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล

ทฤษฎีของการศึกษาแบบเรียนรวม
การดำเนินการศึกษาแบบเรียนรวม มีหลักการดังนี้ทำสัญญาร่วมกันในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งองค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศไว้เมื่อปี คริสตศักราช 1995 ให้ทุกประเทศจัดการศึกษาแบบเรียนรวมดำเนินการตามหลักการแบ่งสัดส่วนตามธรรมชาติ ซึ่งในสังคมหรือชุมชนหนึ่ง ๆ จะมีเด็กพิการหรือเด็กพิเศษปะปนอยู่ เด็กทั้งหมดควรอยู่ร่วมกันตามปกติ โดยไม่มีการนำเด็กพิเศษออกจากชุมชนมารวมกันเพื่อรับการศึกษาที่เป็นการขัดแย้งกับธรรมชาตินำบุคลากรทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กมาทำงานร่วมกัน ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ของเด็กปกติและเด็กพิเศษ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหาร ครูประจำชั้น ครูพิเศษ และบุคลากรในชุมชนอื่น ๆ
พัฒนาเครือข่ายผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งครูทุกคนในโรงเรียนจะต้องช่วยกันทำงานไม่ถือว่าเป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง ถ้าหากมีเด็กพิเศษในโรงเรียน รวมทั้งการพบพูดคุยและปรึกษากับผู้ปกครอง จัดให้ผู้ปกครองเด็กพิเศษด้วยกันและผู้ปกครองเด็กปกติพบกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันหรือสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ แก่กันจัดให้มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็ก ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารและบุคลากรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งในโรงเรียนและในชุมชน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณทั้งภาครัฐและเอกชนในกิจกรรมร่วมระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติจัดการปรับเปลี่ยนหลักสูตร เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและครอบคลุมถึงเด็กพิเศษทุกคนในกลุ่มเด็กปกติจัดให้มีความยืดหยุ่นในทุกสถานการณ์เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็กพิเศษและเด็กปกติทุกคน


หลักการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
แผนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษลักษณะความแตกต่างกันระหว่างบุคคลมีผลต่อระดับความสำเร็จในการเรียนรู้ทั้งนี้เพราะการเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิมเพื่อไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน ซึ่งการเรียนรู้ของคนเราอาศัยประสาทสัมผัส ได้แก่ หู ตา จมูกลิ้น กาย ใจ เป็นองค์ประกอบหลักของการเรียนรู้และการรับรู้ หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งสูญเสีย หรือบกพร่องไปย่อมมีผลต่อการเรียนรู้ และการรับรู้ตามไปด้วย ทำให้การเรียนรู้ของเด็กต้องล้มเหลว เรียนไม่ได้ดีเท่าที่ควรหรือเกิดข้อขัดข้องเสียก่อน ซึ่งอาจจัดเป็นองค์ประกอบใหญ่ ๆ ได้ 3 ประการ
1. องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา ได้แก่ สาเหตุที่สืบเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของระบบการทำงานของร่างกาย เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางร่างกายของเด็กเอง
2. องค์ประกอบด้านจิตวิทยา ได้แก่ สติปัญญา อัตราเร็วของการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง การปรับตัวทางอารมณ์และสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเพื่อน
3. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม ตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ เด็กที่มีความต้องการพิเศษย่อมได้รับผลกระทบต่อการเรียนรู้ในด้าน ต่าง ๆ และหากเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ ซ้อนจะมีผลกระทบต่อการเรียนรู้มากขึ้นไปอีก ซึ่งแยกพิจารณาถึงผลกระทบของความบกพร่องที่มีต่อการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการแต่ละประเภท ดังนี้

เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จะพบว่าสติปัญญาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และเด่นชัดที่สุดในเรื่องของการเรียนรู้ การพัฒนาการในด้านการเคลื่อนไหวด้านภาษา ด้านความคิดรวบยอด ด้านอารมณ์ และด้านสังคม ของเด็กจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ได้เพราะเด็กมีสติปัญญาเป็นปกติ แต่หากมีความบกพร่องทางสติปัญญาแล้วพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กจะล่าช้าไป หรือไม่เป็นไปตามวัยที่ควรจะเป็น

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จะพบว่าการสูญเสียการได้ยิน และปัญหาทางการเรียนรู้มักเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน เพราะเป็นเรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องกับภาษา คนเราเรียนรู้ภาษาและการพูดโดยการรับรู้จากการได้ยิน ซึ่งการเรียนรู้ภาษาและการพูดจะช่วยให้คนเราสามารถเรียนรู้สิ่งอื่น ๆ ได้เพิ่มมากขึ้นและกว้างขวางขึ้น ดังนั้นหากมีความบกพร่องทางการได้ยิน ความสามารถในการเรียนรู้ก็จะลดน้อยไป เพราะไม่มีภาษาและการพูดการติดต่อกับผู้อื่นเพื่อการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองทางด้านสังคมก็จะบกพร่องตามไปด้วย

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น จะพบว่าการเห็นและการเรียนรู้จะมีความสัมพันธ์กัน คนเราใช้การเห็นเพื่อการเรียนรู้เป็นสำคัญ หากมีความบกพร่องทางการเห็นแล้วมักจะส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างเด่นชัด มองเห็นวัตถุกลมเป็นรูปเบี้ยวและพร่า เห็นเส้นแนวตั้งแนวขวางได้ชัดเจนไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงถือว่าการเห็นมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นจะต้องปรับตัวในแบบต่าง ๆ หลายอย่างด้วยกันและในช่วงเวลาของการปรับตัวเหล่านี้จะทำให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นขาดโอกาสในการเรียนรู้ไปหรือทำให้เรียนรู้ได้ไม่ทันคนอื่น

เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ จะพบว่าร่างกายและสุขภาพที่ดีก็ช่วยให้มีการเรียนรู้ที่ราบรื่น ส่วนคนที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพก็ต้องมาเสียพลังงาน ความสนใจอยู่ในเรื่องร่างกายและสุขภาพมากกว่าการเรียนรู้ หรือเพราะความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพจึงทำให้เด็กต้องรักษาพยาบาลหรือเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่จึงขาดโอกาสที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง หรือได้รับการเอาใจใส่ที่จะช่วยให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพได้รับผลกระทบจากสาเหตุของความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ จนไม่สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่ ร่างกายและสุขภาพที่เหมาะสมเป็นส่วนสำคัญของความพร้อมของเด็ก เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพจะทำให้ตื่นตัวและพร้อมที่จะร่วมกิจกรรมทางการเรียนรู้ในอัตราเดียวกับเด็กปกติย่อมเป็นไปไม่ได้ นอกจากนี้การมีร่างกายหรือสุขภาพไม่ดีก็ยังทำให้เด็กต้องขาดเรียนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดปัญหาด้านการเรียนรู้ เพราะเป็นเหตุให้เด็กขาดโอกาสในการฝึกทักษะที่จำเป็นตังแต่เริ่มแรก

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา จะพบว่าเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า การพูดและภาษามีความสัมพันธ์อย่างมากกับความสำเร็จในการเรียนรู้ของคนเรา ซึ่งบทบาทของการพูดและภาษานั้นจะมีมากหรือน้อยเพียงไรนั้นส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับโอกาสที่เด็กจะได้รับจากสิ่งแวดล้อม ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมนี้เห็นได้ชัดเจนจากเด็กที่มาจากครอบครัวซึ่งอยู่ในสภาพขาดแคลน ห่างไกลจากชุมชน หรืออยู่ในวัฒนธรรมที่ไม่ได้ฝึกใช้ภาษาตั้งแต่เยาว์วัย ทำให้มีปัญหาเมื่อเริ่มเรียน เพราะขาดภาษา หรือมีความล่าช้าด้านพัฒนาการทางภาษา การพูดและภาษาเป็นเสมือนกุญแจสำคัญในการพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพของเด็ก ดังนั้นหากเด็กมีความบกพร่องทางการพูดและภาษาแล้วการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ก็จะบกพร่องตามไปด้วย ซึ่งทางการศึกษาถือกันว่าการพูดและภาษาเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้


เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ จะพบว่าความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์เกี่ยวข้องกับเรื่องการปรับตัวทางอารมณ์และสังคมและเป็นปัญหาที่พบกันเสมอในหมู่เด็กที่ประสบความล้มเหลวทางการเรียนรู้ แม้แต่ผลการวิจัยเองก็มักจะออกมาในทำนองสนับสนุนให้เห็นว่า ความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์เกี่ยวข้องกับเรื่องของการปรับตัวทางด้านอารมณ์และสังคม คือ เกิดความตึงเครียดของประสาท การมีความคิดเกี่ยวกับตนเองที่ไม่เหมาะสม ความกลัว หรือความกังวลต่อการเรียนรู้ ช่วงความสนใจสั้น ไม่เป็นตัวของตัวเอง กังวล เก็บตัว มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ไม่มีความรับผิดชอบ อย่างไรก็ตามไม่สามารถจะสรุปได้ว่าการที่เด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์นั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อน หรือหลังการมีปัญหาด้านการเรียนรู้

เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ จะพบว่าปัญหาทางการเรียนรู้ของเด็กส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการของการรับรู้ ซึ่งความสามารถในการแยกแยะสิ่งต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อความสามารถในการจำมากกว่าความสมารถในการเห็นความแตกต่าง และความคล้ายคลึงกันของสิ่งที่เรียนรู้อย่างไร้ความหมาย ดังนั้นถ้าเด็กคนใดบกพร่องในเรื่องการจำก็ควรฝึกฝนเกี่ยวกับรูปร่าง ถ้าบกพร่องในเรื่องของการแยกแยะ ก็ฝึกเกี่ยวกับการแยกแยะ เพราะประสบการณ์ตรงเหล่านี้มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก และมีผลต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของเด็กอย่างมาก ดังนั้นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จึงมีผลกระทบโดยตรงในด้านการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้ของคนเราต้องอาศัยองค์ประกอบที่สัมพันธ์กันทั้งภายในและภายนอก เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จึงเป็นผลมาจากองค์ประกอบทางการเรียนรู้ต่าง ๆ และทำให้เด็กเหล่านี้มีพัฒนาการในด้านต่าง ๆและมีความสามารถที่แตกต่างจากคนทั่ว ๆ ไป

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
การศึกษาพิเศษ เป็นกระบวนการในการพัฒนาความสามารถของเด็กตามสภาพของความแตกต่างระหว่างบุคคล และเอกลักษณ์ของแต่ละคนวิธีการที่นำมาใช้สอนและอบรมเพื่อพัฒนาเด็กจึงจำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนด้วย โดยมีเป้าหมายที่ต้องการให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพสามารถพึ่งตนเองและก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จึงได้ยึดหลักของความแตกต่างระหว่างบุคคล และการมีเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละคนเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความสำเร็จในการจัดการศึกษาเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษแต่ละประเภทจะมีหลักในการจัดการศึกษาที่แตกต่างกันไป


ฉวีวรรณ โยคิน (http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177
ได้กล่าวถึงการเรียนรู้แบบรวมไว้ว่า
ศูนย์การศึกษาของสภาสถาบันราชภัฎทั้ง 6 ศูนย์ คือ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต เชียงใหม่ พิบูลย์สงคราม นครราชสีมา และสงขลา ได้ร่วมกันให้คำจำกัดความการศึกษาแบบเรียนรวมของประเทศไทยไว้ว่าการศึกษาแบบเรียนรวม คือ การศึกษาสำหรับทุกคนโดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา และจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล (เบญจา ชลธาร์นนท์, 2544) และมีนักการศึกษาต่างประเทศ ได้ให้คำจำกัดความของการศึกษาแบบเรียนรวม ไว้ว่าการศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก นั่น คือ การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน โดยการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้กับชุมชนและโรงเรียน การอยู่รวมกันจึงมีความหมายรวมไปถึงกิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ซึ่งเป็นการคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง (Wilson , Kliewer, East, 2007) จากความหมายดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก การเรียนรวมยังแบ่งออกเป็นการเรียนเต็มเวลา และการเรียนรวมบางเวลา การเรียนรวมเต็มเวลา (Full Inclusion) หมายถึง การให้เข้าเรียนในชั้นเรียนรวมตลอดทั้งวันเช่นเดียวกับการมาโรงเรียนตามปกติของนักเรียนทั้งหลาย การเรียนรวมบางเวลา (Partial Inclusion) หมายถึง การให้เด็กเข้าเรียนในชั้นเรียนรวมในบางชั่วโมงของ 1 วัน หรือ บางชั่วโมงของเวลาเรียนใน 1 สัปดาห์ เป็นการเข้าเรียนไม่เต็มเวลาของการเรียนปกติ

รูปแบบการเรียนรวม
ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติต้องอาศัยรูปแบบการเรียนรวมที่เหมาะสมกับผู้เรียนในชั้นเรียนรวม ซึ่งรูปแบบการเรียนรวมมีหลายรูปแบบ โดยที่ ด๊าค (Daeck, 2007) ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมเต็มเวลาไว้ 3 รูปแบบใหญ่ 5 รูปแบบเล็ก ดังนี้
1. รูปแบบครูที่ปรึกษา (Consultant Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้สอนทักษะแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เนื่องจากครูที่สอนชั้นเรียนรวมสอนเด็กแล้ว แต่ทักษะยังไม่เกิดกับเด็กคนนั้นครูการศึกษาพิเศษต้องสอนทักษะเดิมซ้ำอีก จนกระทั่งเด็กเกิดทักษะนั้น สำหรับรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะรับผิดชอบเด็กจำนวนหนึ่ง เป็นจำนวนจำกัด ครูปกติและครูการศึกษาพิเศษต้องมีการพบปะเพื่อประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับทักษะของเด็ก และมีการวางแผนร่วมกัน รูปแบบนี้เหมาะกับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนเด็กที่มีความต้องการพิเศษไม่มากนัก ซึ่งผู้เรียบเรียงได้ไปศึกษาดูงานที่ Westbrook Walnut Grove : High School ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจัดรูปแบบการเรียนรวม แบบครูที่ปรึกษา
2. รูปแบบการร่วมทีม (Teaming Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการร่วมทีมกับครูที่สอนชั้นปกติ เช่น ในสาย ป.2 (ครูที่สอนชั้นป.2/1 และป.2/2) ครูการศึกษาพิเศษมีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ครูปกติเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับวิธีสอนการมอบหมายงานหรือการบ้าน การปรับวิธีสอบ การจัดการด้านพฤติกรรม มีการวางแผนร่วมกันสม่ำเสมอ เช่น สัปดาห์ละ 1–2 ครั้ง ครูที่เกี่ยวข้องจะต้องทำงานวางแผนร่วมกันเป็นทีมในการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
3. รูปแบบการร่วมมือ หรือ การร่วมสอน (Collaborative/Co Teaching Model) ในรูปแบบนี้ทั้งครูการศึกษาพิเศษและครูปกติร่วมมือกันในหลายลักษณะในการสอนเด็กทุกคน ทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติในห้องเรียนปกติ ร่วมมือกันรับผิดชอบในการวางแผน การสอน การวัดผลประเมินผล การดูแลเกี่ยวกับระเบียบวินัยและพฤติกรรมของเด็กผู้เรียนจะได้รับบริการด้านการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัย ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนที่จำเป็น ตลอดจนการปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน ในรูปแบบนี้ครูผู้รับผิดชอบจะต้องประชุมกันเพื่อวางแผน เพื่อให้การเรียนรวมดำเนินไปด้วยดีอาจจำแนกออกเป็นรูปแบบย่อย ๆ ได้ 5 รูปแบบ คือ
3.1 คนหนึ่งสอนคนหนึ่งช่วย (One Teacher-One Supporter) เป็นการสอนที่ครู 2 คน ร่วมกันสอนชั้นเดียวกันในเวลาเดียวกัน เนื้อหาเดียวกัน ครูคนที่เชี่ยวชาญในเนื้อหากว่าเป็นผู้สอน ส่วนครูอีกคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ น้อยกว่าเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักเรียนอาจถามครูคนใดคนหนึ่งก็ได้ เมื่อนักเรียนมีคำถาม เพราะมีครู 2 คน อยู่ในห้องเรียนในเวลาเดียวกัน
3.2  การสอนพร้อม ๆ กัน (Parallel Teaching) เป็นการแบ่งเด็กในหนึ่งห้องเรียนออกเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน หลังจากบรรยายเสร็จ ครูอาจมอบงานให้นักเรียนทำไปพร้อม ๆ กัน และให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน การสอนแบบนี้เหมาะสำหรับห้องเรียนที่มีจำนวนนักเรียนไม่มากนัก ครูจะได้มีโอกาสดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง ครูสามารถตอบคำถามนักเรียนได้แทบทุกคน และครูอาจอธิบายซ้ำหรือสอนซ้ำได้ สำหรับเด็กบางคนที่ไม่เข้าใจเนื้อหาบางตอน
3.3 ศูนย์การสอน (Station Teaching) บางครั้งอาจเรียกศูนย์การเรียน (Learning Centers) ในรูปแบบนี้ครูจะแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นตอน ๆ แต่ละตอนจะจัดวางเนื้อหาได้ตามแหล่งต่างๆ(Stations) ภายในห้องเรียน ให้นักเรียนตามเวลาที่กำหนด และหมุนเวียนกันจนครบทุกศูนย์จึงจะได้เนื้อหาวิชาครบถ้วนตามที่ครูกำหนด ข้อดีของรูปแบบนี้คือครูอาจใช้เวลาในขณะที่เด็กอื่นกำลังเรียนรู้ด้วยตนเองสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล ทำให้เด็กเข้าในสิ่งที่เรียนมากขึ้น
3.4 การสอนทางเลือก (Alternative Teaching Design) ในการสอนแบบนี้จะต้องมีครูอย่างน้อย 2 คน ใน 1 ห้องเรียน ครูคนแรกจะสอนเนื้อหาวิชาแก่เด็กทั้งชั้น หลังจากนั้นจึงแบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรม ครูคนหนึ่งจะสอนกลุ่มเด็กที่เก่งกว่าเพื่อให้ได้เนื้อหาและกิจกรรมเชิงลึกในขณะที่ถูกอีกคนหนึ่งสอนกลุ่มเด็กที่อ่อนกว่า เพื่อให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมตามที่ตนมีความสามารถข้อดีของการสอบแบบนี้คือ เด็กที่เก่งได้เลือกเรียนในสิ่งที่ยาก ขณะที่เด็กที่อ่อนได้เลือกเรียนตามศักยภาพของตน ครูมีโอกาสสอนซ้ำในทักษะเดิมสำหรับเด็กที่ยังไม่เก่งในทักษะนั้น ๆ เหมาะสำหรับชั้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาอื่นว่ามีเนื้อหายากง่ายตามลำดับของเนื้อหาวิชา
3.5 การสอนเป็นทีม (Team Teaching) เป็นรูปแบบที่ครูมากกว่า 1 คน รวมกันสอนห้องเรียนเดียวกันในเนื้อหาเดียวกัน เป็นการสอนทั้งห้องเรียนแต่ไม่จำเป็นต้องสอนในเวลาเดียวกันหากมีครูสอนมากกว่า 1 คน ในเวลาเดียวกัน ครูอาจเดินไปรอบ ๆ ห้องและช่วยกันสอนนักเรียนเป็นรายบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีปัญหาในการเรียนเนื้อหาวิชาจากการไปศึกษาดูงานด้านการศึกษาพิเศษของผู้เรียบเรียง ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดรูปแบบ การร่วมมือ หรือ การร่วมสอน


จินตหรา เขาวงค์ (http://khaowongmsu.blogspot.com/2010/10/blog-post.html)
ได้กล่าวถึงการเรียนรู้แบบรวมไว้ว่า
ความหมายและความสำคัญของการเรียนรวม
การเรียนรวม หมายถึง การศึกษาแบบเรียนรวม ศูนย์การศึกษาของสภาสถาบันราชภัฎทั้ง 6 ศูนย์ คือ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต เชียงใหม่ พิบูลย์สงคราม นครราชสีมา และสงขลา ได้ร่วมกันให้คำจำกัดความการศึกษาแบบเรียนรวมของประเทศไทย ไว้ว่าการศึกษาแบบเรียนรวม คือ การศึกษาสำหรับ ทุกคนโดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา และจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล และมีนักการศึกษาต่างประเทศ ได้ให้คำจำกัดความของการศึกษาแบบเรียนรวม ว่าหมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกันเป็นหลัก นั่นคือ การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน โดยการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้กับชุมชนและโรงเรียน การอยู่รวมกันจึงมีความหมายรวมไปถึงกิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี ซึ่งเป็นการคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง จากความหมายดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกัน ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
การเรียนรวมมีความสำคัญ คือ เป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กทั่วไปในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปเป็นการเสนอให้นักการศึกษาพิจารณาคำถึงคุณค่าของการพัฒนาชีวิตคน ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาทุกด้านของวิถีแห่งชีวิต เพื่อให้มีความสามารถ ความรู้ และทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีคุณค่า และยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่กลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น เพราะการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการประหยัด และไม่ต้องรอคอยงบประมาณในการจัดซื้อที่ดิน การก่อสร้างอาคารเรียนซึ่งต้องสิ้นเปลืองเงินงบประมาณจำนวนมาก หากแต่จัดให้เด็กพิเศษได้แทรกเข้าไปเรียนในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา

สรุปการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ถือว่า เป็นแนวคิดใหม่ทางการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน ไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กทั่วไป หรือเด็กคนใดที่มีความต้องการพิเศษ โดยโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม ตามหลักการเรียนรวม เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะได้เรียนในโรงเรียนปกติใกล้บ้านโดยไม่มีการแบ่งแยก ได้เรียนในชั้นเดียวกับเพื่อนในวัยเดียวกันไม่มีห้องเรียนพิเศษการช่วยเหลือสนับสนุนอื่นๆ จะจัดอยู่ในสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนปกติ ทั้งนี้โรงเรียนต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบให้มีความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของเด็กแต่ละคน และ เด็กทุกคนมีฐานะเป็นสมาชิกหนึ่งของโรงเรียนมีสิทธิ มีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน ซึ่ง เป้าประสงค์ของการเรียนรวม คือ การจัดโอกาสสำหรับนักเรียนทุกคนให้บรรลุขีดศักยภาพในการศึกษาทั่วไป เพื่อให้เด็กสามารถดำรงชีพในสังคมร่วมกันได้อย่างมีความสุขและยอมรับซึ่งกัน และการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็น การให้โอกาสเด็กพิการได้เรียนอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่กับเด็กทั่วไป ในสภาพห้องเรียนปกติ ซึ่งหากได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีแล้ว เด็กพิการสามารถประสบความสำเร็จได้ การเรียนรวมทำให้เด็กพิการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กทั่วไปและรอดพ้นจากการถูกตีตราว่าเป็นเด็กพิการ ทำให้เด็กทั้งสองกลุ่มยอมรับซึ่งกันและกัน การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ให้โอกาสแก่คนพิการได้พัฒนาศักยภาพทุกด้านในระบบของโรงเรียนที่จัดให้
การเรียนรวมจึงมิใช่การศึกษาเฉพาะเด็กที่มีความต้องการพิเศษเท่านั้นหากแต่เป็นการศึกษาเพื่อเด็กทุกคน การจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการต่างๆจะเป็นการผสมผสานระหว่างหลักการทางการศึกษาพิเศษ และการศึกษาทั่วไปการเรียนรวมในประเทศไทย แม้ว่าจะได้ดำเนินการไป แต่ก็ยังมีปัญหาหลากหลายทั้งในการบริหารจัดการ การบริหารหลักสูตร การประเมินความต้องการพิเศษทางการศึกษาของเด็ก การจัดหาสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และการช่วยเหลือ และการช่วยเหลือเกื้อกูลอันจำเป็นที่จะทำให้การเรียนรวมดำเนินไปได้ การปรับวิธีสอน และการปรับวิธีการวัดผล เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของผู้เรียน อีกประการหนึ่งการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมที่ขาดประสิทธิภาพอาจเป็นผลเนื่องมาจากความเข้าใจผิด และกลไกที่เป็นปัญหาหลายประการที่มาจากทั้งปัจจัยภายในโรงเรียนเอง และปัจจัยภายนอกโรงเรียน ทำให้การเรียนรวมดำเนินไปในวงจำกัดและไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรแม้ว่า การจัดการศึกษาพิเศษให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งเป็นบุคคลส่วนน้อยของประเทศแต่ก็ เป็นการจัดการศึกษาที่ต้องลงทุนสูงทั้งด้านการเงิน เวลา ทรัพยากร ทุกด้าน หลายคนอาจมองว่าเป็นภาระของประเทศ แต่โดยสิทธิมนุษยชน เขาต้องได้รับการดูแลเพราะไม่ใช่ว่าเขาเลือกเกิด เองได้ รัฐ และนักการศึกษา ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนชุมชนในสังคม ต้องรับทราบปัญหาและให้โอกาสเขาได้เรียนรู้ตามศักยภาพที่มีอยู่ เพื่อสามารถพัฒนาตนเองได้ และไม่ให้เป็นภาระต่อส่วนรวมในสังคมต่อไป


อ้างอิง
ฉวีวรรณ โยคิน.
[online].(http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177).การศึกษาแบบเรียน     รวม.สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2558.
จินตหรา เขาวงศ์.
[online].(http://khaowongmsu.blogspot.com/2010/10/blog-post.html).การเรียนแบบรวมและการเรียนร่วม.สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2558.
(http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10.).การจัดกาศึกษาแบบเรียนรวม.สืบค้นเมื่อ                     21 กรกฎาคม 2558.

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ได้กล่าวถึงการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา(กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม(กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจ ความสามารถและความถนัดเน้นการบูรณาการความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ ใช้หลากหลายวิธีการสอนหลากหลายแหล่งความรู้สามารถพัฒนาปัญญาอย่างหลากหลายคือ พหุปัญญา รวมทั้งเน้นการวัดผลอย่างหลากหลายวิธี (พิมพันธ์เดชะคุปต์, 2550)

ยาเบ็น เรืองจรูญศรี (http://www.kroobannok.com/blog/39847.)
ได้กล่าวถึงการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า
การเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีแนวคิดมาจากแนวคิดของ จอห์น  ดิวอี้ (John Dewey) ซึ่งเป็นต้นคิดในเรื่องของการเรียนรู้โดยการกระทำ หรือ learning by doing ทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ซึ่งรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ โดยเปลี่ยนบทบาทจาก ผู้รับมาเป็น ผู้เรียน”  และ บทบาทของ ครูเป็น ผู้ถ่ายทอดข้อมูล มาเป็น ผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้”  ให้ผู้เรียนได้ปรับบทบาทนี้ เท่ากับเป็นการเปลี่ยนจุดการเรียนรู้

ได้กล่าวถึงการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ว่า
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ วิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์ เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแนวคิด   การ จัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ได้พัฒนามาอย่าง ต่อเนื่องยาวนาน และเป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามต้องการอย่างได้ผล (วัฒนาพร ระงับทุกข์. 2542)
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้ ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมต่อการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งแนวคิดแบบผู้เรียนเป็นสำคัญจะยึดการศึกษาแบบก้าวหน้าของผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนแต่ละคนมีคุณค่าสมควรได้รับการเชื่อถือไว้วางใจ แนวทางนี้จึงเป็นแนวทางที่จะ ผลักดันผู้เรียนไปสู่การบรรลุศักยภาพของตน โดยส่งเสริมความคิดของผู้เรียนและอำนวยความสะดวกให้เขาได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างจากการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบดั้งเดิมทั่วไป

สรุปการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
จากแนวความคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการ คิดริเริ่ม แสวงหา วิเคราะห์ จัดการความรู้ และลงมีปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเองตามความต้องการและความสนใจ  และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

อ้างอิง
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ.สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2558.
ยาเบ็น เรืองจรูญศรี.
[online].(http://www.kroobannok.com/blog/39847.).การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผูเรียนเป็นสำคัญ.สืบค้นเมื่อ 21  กรกฎาคม 2558.

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิธีสอนโดยการใช้สื่อ (Medai)

นายวีระพงศ์ ล่องลอย (https://www.gotoknow.org/user/werapongloy/profile.)
ได้กล่าวถึงววิธีสอนโดยการใช้สื่อไว้ว่า
ทักษะการใช้สื่อการสอน
ทักษะการใช้สื่อการสอน เป็นความสามารถในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ คน หรือวิธีการ ที่ช่วยเป็นตัวกลางในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนตั้งไว้ ผู้สอนสามารถนำสื่อการสอนไปใช้ในทุกขั้นตอนของการสอน เช่น ขั้นการนำเข้าสู่เรื่อง ขั้นสอนเนื้อหา  ขั้นสรุปบทเรียน ฯลฯ  การใช้สื่อประกอบการสอนจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับวิธีการเตรียม การเลือก และการใช้ของผู้สอนแต่ละครั้งเป็นสำคัญ
หลักการใช้สื่อการสอน อาจแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.  การเตรียม
2.  การเลือก 
3.  การใช้  
4.  การติดตามผล
หลักเกณฑ์ทั่วไปสำหรับการใช้สื่อการสอน มีดังนี้
1. การเตรียม
          1.1  สำรวจอุปกรณ์ทุกชิ้นให้อยู่ในสภาพดี ใช้งานได้
          1.2  ทดลองใช้ให้คล่องแคล่ว
1.3  สำรวจและจัดเตรียมห้องเรียนสำหรับใช้อุปกรณ์ให้เกิดความคล่องตัว

2.  การเลือกสื่อการเรียนการสอน
2.1  เลือกสื่อให้เหมาะสมกับระดับวัย ระดับสติปัญญา และปลอดภัยในการใช้
2.2  เลือกขนาด สื่อต้องมีขนาดใหญ่พอสำหรับการสอนจริงในชั้นเรียนที่ใหญ่  ผู้สอนจะต้องคำนึงถึงจำนวนผู้เรียนในชั้นจริงว่า ทุกคนในชั้นจะมองเห็นสื่อได้ชัดเจนหรือไม่
2.3  การใช้สื่อที่เคลื่อนไหวได้ จะช่วยเร้าความสนใจแก่ผู้เรียนได้ดีเป็นพิเศษ
          2.4  ใช้สื่อในปริมาณที่พอเหมาะ  และตรงเป้าหมายกับเรื่องที่จะสอน
2.5  ใช้สื่อที่สัมพันธ์กับบทเรียน และตรงกับจุดมุ่งหมายของเรื่องที่จะสอน


3.  การใช้สื่อการเรียนการสอน
3.1  ใช้ตามลำดับก่อนหลังอย่างคล่องแคล่ว  และแสดงให้เห็นทั่วกันทั้งชั้นอย่างชัดเจน การยกภาพให้ผู้เรียนดูควรยกให้สูงในระดับอกของผู้สอนและอยู่ข้างหน้าชั้นเรียน
3.2  สื่อขนาดใหญ่ต้องมีที่ตั้งหรือที่แขวนเพื่อให้เห็นชัดเจน
3.3  ใช้ไม้บรรทัดชี้สื่อ โดยผู้สอนยืนชิดไปด้านใดด้านหนึ่งไม่ยืนบังสื่อเหล่านั้น
3.4  ในบางครั้งต้องเตรียมความพร้อมในการใช้สื่อของผู้เรียนไว้ล่วงหน้า จึงจะ  ทำให้ผู้เรียนทำตามจุดมุ่งหมายของผู้สอนได้
3.5  ควรใช้สื่อให้คุ้มค่ากับที่ได้เตรียมมา  กล่าวคือ  พยายามใช้ให้เป็นประโยชน์ที่สุด เช่น ใช้แผนภูมิส่วนประกอบของต้นไม้ในขั้นสอนแล้ว อาจใช้แผนภูมินั้น ๆ ในขั้นสรุปบทเรียนอีกแต่ต้องมีวิธีใช้ต่างกันไปกับขั้นสอน  เป็นต้น
3.6  ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้สื่อ เช่น ให้อธิบายภาพสะกดและอ่านบัตรคำ เลือกภาพ จับคู่
3.7  ในโอกาสที่ต้องการแจกสื่อไปตามโต๊ะผู้เรียน  เช่น เทียนไข  ไม้ขีด  กระดาษ  ฯลฯ  ผู้สอนควรจะฝึกให้ผู้เรียนแจกกันเองได้  โดยผู้สอนให้ผู้เรียนหยิบส่วนของตนไว้  ที่เหลือส่งต่อไป
3.8  ในกรณีที่ต้องการให้ผู้เรียนมาใช้สื่อหน้าชั้น  ควรฝึกให้ผู้เรียนหันหน้า  เข้าหาชั้นเรียน และไม่ยืนบังตาของเพื่อนจากสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ นอกจากนี้ควรกำชับถึงความปลอดภัย และความระมัดระวังเป็นพิเศษในด้านความเสียหาย

4.  การติดตามผล
เป็นการติดตามผลของการใช้สื่อการสอน  เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนได้รับความรู้จากสื่อนั้นมากน้อยเพียงใด  มีข้อบกพร่องอย่างไร

ประโยชน์ของการใช้สื่อการสอน
การใช้สื่อการสอนที่เหมาะสมและใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนได้ดังนี้
1.  การใช้สื่อการสอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียน  ซึ่งจะเป็นแนวทางให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเกิดประโยชน์
2.  การใช้สื่อการสอนจะให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างทั่วถึง
3.  การใช้สื่อการสอนช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดแนวคิดและความเข้าใจที่ถูกต้องและรวดเร็ว
4.  ผู้เรียนเกิดทักษะในการศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่อการสอน
5.  การใช้สื่อการสอนสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการจำเรื่องราวและสิ่งต่าง ๆ ได้นาน แม่นยำและถูกต้อง
6.การใช้สื่อการสอนมีส่วนช่วยในการเพิ่มพูนประสบการณ์เดิมของผู้เรียนและเปลี่ยนทัศนคติไปในทางที่พึงปรารถนาได้

นางสาวอูมัยกือซง หะระตี (http://umiakesung.blogspot.com/p/blog-page_6355.html.)
ได้กล่าวถึงววิธีสอนโดยการใช้สื่อไว้ว่า
เทคนิคการใช้สื่อการสอน
สื่อและวัสดุอุปกรณ์การสอนเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปด้วยดี  การสอนที่มีการใช้วัสดุ อุปกรณ์ประกอบการเรียนนอกจากจะทำให้นักเรียนเห็นความเป็นรูปธรรมของสิ่งที่ครูสอนและเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจของนักเรียนให้เด่นชัดและง่ายขึ้นแล้วการสอนที่มีการใช้วัสดุอุปกรณประกอบการสอนยังช่วยเพิ่มบรรยากาศของการสอนให้น่าสนใจ  เนื่องจากมีการแปรเปลี่ยนสิ่งเร้าหลายๆ อย่าง และครูยังสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ กระตุ้นให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างสนุกสนานอีกด้วย  (ประดินันท์  อุปรมัย, 2540: 176-177)อย่างไรก็ตาม  สื่อการสอนจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อครูได้นำไปใช้อย่างเหมาะสมและถูกวิธี ดังนั้นก่อนที่จะนำสื่อแต่ละอย่างไปใช้ ครูจึงควรที่จะศึกษาได้ถึงลักษณะและคุณสมบัติของสื่อการสอน  ข้อดีและข้อจำกัดอันเกี่ยวเนื่องกับตัวสื่อและการใช้สื่อแต่ละอย่าง  ตลอดจนการผลิต และใช้สื่ออย่างเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การจัดกิจกรรมการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้  (กิดานันท์  มลิทอง,2531: 81-82  อ้างถึงใน อาภรณ์  ใจเที่ยง, 2546: 188)

ความหมายของสื่อ
ความหมายของคำว่า  สื่อ”  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พุทธศักราช  2542  มีหลากหลายความหมาย  แต่ความหมายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน  หมายถึง  ติดต่อให้ถึงกัน  เช่น  สื่อความหมาย  (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546:1200)  ฉะนั้น  สื่อการสอนก็หมายถึง สิ่งที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับการสอน  ซึ่งก็คือครูและนักเรียนติดต่อถึงกัน  เพื่อสื่อความหมายของสิ่งที่ต้องการจะสอนหรือให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
กิดานันท์  มลิทอง (2544: 1)  กล่าวถึง คำว่า สื่อและ สื่อการสอนและการฝึกอบรม”  ว่า  สื่อมาจากคำภาษาลาติน  “medium” แปลว่า  ระหว่าง”  หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์  สื่อการสอนและการฝึกอบรม”  เป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนและฝึกอบรมในรูปแบบวัสดุ  อุปกรณ์  และเทคนิควิธีการ  โดยอาจเป็นหนังสือ  แผนภูมิ  รูปภาพ  สไลด์  แถบวีดีทัศน์  แผ่นโปร่งใส  เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  เครื่องวิชวลไลเซอร์  เครื่องเล่นวีซีดี  ลำโพง  ไมโครโฟน  โปรแกรมคอมพิวเตอร์  คอมพิวเตอร์  การสาธิต  การศึกษานอกสถานที่  ฯลฯ  รวมถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบเครือข่ายมาใช้ร่วมในการสอนและฝึกอบรมให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและได้ประสิทธิผลเพิ่มพูนยิ่งขึ้นด้วยชาญชัย  ยมดิษฐ์  (2548: 417)  อธิบายว่า  สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางเชื่อมโยงความรู้ ความเข้าใจระหว่างสารที่ครูส่งไปยังนักเรียน  ทำให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่ครูกำหนดไว้ โดยสื่อที่ครูใช้สอนเรียกว่า  สื่อการเรียนการสอน  ก็แปลว่า  นักเรียนก็เรียนรู้  ครูก็ใช้สอนด้วยนั่นเอง
สิริพัชร์  เจษฎาวิโรจน์  (2550: 71)  กล่าวว่า  สื่อการเรียนรู้  หมายถึง  สิ่งใด ๆ ก็ตามที่เป็นเครื่องช่วยถ่ายทอดความรู้จากบทเรียนไปสู่นักเรียน ซึ่งจะช่วยทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ของการใช้สื่อการสอน
เฉลิม  มลิลา  (2526: 118)  กล่าวถึง  วัตถุประสงค์ของการใช้สื่อการสอน  ดังนี้
1. เพื่อให้ประสบการณ์ตรง (Direct  Experience)  และเป็นจริงแก่นักเรียน
2. เพื่อให้นักเรียนได้โดยง่าย  และสะดวกขึ้น
3. เพื่อเร้านักเรียนให้มีความสนใจในบทเรียนอย่างต่อเนื่องตามขั้นตอน  และตลอดเวลา
4.  เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
5.เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะความสามารถเนื่องจากไดเรียนรู้ด้วยการลงมือทดลองและฝึกปฏิบัติ  (Learning  by doing)
6.เพื่อให้นักเรียนกล้าแสดงออกทางความคิด  และการแสดงบทบาทอย่างสมควรและโดยสมเหตุสมผลตามแนวทางที่ดีและเป็นที่พึงประสงค์ของสังคม
7.  เพื่อให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
8.  เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน
9.  เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี  (interaction)  ระหว่างนักเรียนครู
10.เพื่อให้ประหยัดเวลา  วัสดุ อุปกรณ์ ค่าใช้จ่าย  และบุคลากร  ในขณะเดียวกัน  ทำให้นักเรียนจำนวน มากเกิดการเรียนรู้อย่างคุ้มค่า  ภายใต้สถานการณ์ที่ดีและได้มาตรฐานอย่างเดียวกัน

ประโยชน์ของสื่อการสอนที่มีต่อนักเรียน
ระวิวรรณ  ศรีคร้ามครัน  (2551: 93)  กล่าวถึง  ประโยชน์ของสื่อการสอน  ดังนี้
1.  ช่วยพัฒนาความคิดนักเรียน  การที่นักเรียนได้รู้  เห็นสภาพของปัญหาต่าง ๆ ได้ยินหรือได้สัมผัสโดย   การใช้สื่อการสอนประเภทต่าง ๆ เช่น จากภาพยนตร์  รูปภาพจะสามารถพัฒนาความคิดเห็นของนักเรียน  โดยการคิดค้นหาวิธีการแก้ไขอย่างมีหลักการ  และมีเหตุผล  ทำให้มีความคิดกว้างไกลมากขึ้น
2.   เพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน  ทำให้นักเรียนมีประสบการณ์มากขึ้นเนื่องจากได้เห็นของจริง  ได้ยินหรือสัมผัส  ทำให้สามารถเปรียบเทียบสิ่งที่ได้เห็นในปัจจุบันกับความก้าวหน้าต่าง ๆ ที่นักเรียนได้เรียนรู้ใหม่จากสื่อการเรียนต่าง ๆ เช่น จากภาพยนตร์ หรือจากการทัศนศึกษา
3. กระตุ้นหรือเร้าความสนใจของนักเรียน  ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่นำมาเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนนอกเหนือจากการเรียนปกติในชั้นเรียน  สามารถทำให้นักเรียนสนใจการเรียนมากขึ้น  มีความกระตือรือร้น  ใคร่รู้เห็นสิ่งที่แปลก ๆ ใหม่ ๆ ซึ่งจะกระตุ้นความคิดของนักเรียนได้

อาภรณ์  ใจเที่ยง  (2546: 188)  อธิบายถึงประโยชน์ของสื่อการสอนที่มีต่อนักเรียนไว้  ดังนี้
1.   เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ เนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาสั้น  และสามารถช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
2.   ช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับนักเรียน  ทำให้เกิดความสนุกและไม่เบื่อหน่ายการเรียน
3.   ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจตรงกัน  และเกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียนนั้น
4.   ช่วยให้นักเรียนไดมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น  ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีในระหว่างนักเรียนด้วยกันเองและกับครู
5.   ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้  และช่วยให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อเหล่านั้น
6.   ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล  โดยจัดการให้มีการใช้สื่อในการเรียนการสอนรายบุคคล

สิริพัชร์  เจษฎาวิโรจน์  (2550: 75-77) กล่าวถึง  ประโยชน์ของสื่อการสอนที่มีต่อนักเรียนหลายประการ ในที่นี้นำเสนอประการ ดังนี้
1.    ช่วยให้ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมแก่นักเรียน
2.    ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่ศึกษาได้ยากลำบากและทำการสอนง่ายขึ้น

ศักดิ์ศรี  ปาณะกุล (2550: 7-8 )  กล่าวถึงคุณค่าของสื่อการเรียนรู้ต่อนักเรียนหลายประการ ดังนี้
1.   ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้ดีขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมที่สามารถสัมผัสและเข้าใจได้ง่ายขึ้น
2.   ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้มากขึ้นในเวลาที่กำหนดหรือรวดเร็วกว่าการไม่ใช้สื่อ
3.   ช่วยให้นักเรียนจดจำสิ่งที่เรียนได้มาก  แม่นยำ  และคงทนถาวรยิ่งขึ้น  เพราะความประทับใจในประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อนั้นๆ
4.   ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเรื่องราวต่างๆ  ตรงกัน  และเกิดประสบการณ์ร่วมในเรื่องราวเดียวกัน
5.   ช่วยให้นักเรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตปัจจุบัน และคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
6.   ช่วยให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง  แปลกใหม่  และมีคุณค่า  ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้ที่บรรลุเป้าหมายและคาดหวังของนักเรียน

ประโยชน์ของสื่อการสอนที่มีต่อครู
อาภรณ์  ใจเที่ยง  (2546: 188) กล่าวถึง  ประโยชน์ของสื่อการสอนที่มีต่อครู ดังนี้
1.   ช่วยให้บรรยากาศในการเรียนน่าสนใจยิ่งขึ้น  ทำให้ครูมีความสนุกสนานและมีความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มมากขึ้น
2.   ช่วยแบ่งเบาภาระของครูในด้านการเตรียมเนื้อหา  เพราะบางครั้งอาจให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
3. เป็นการกระตุ้นให้ครูตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลิตวัสดุใหม่ๆ  เพื่อใช้เป็นสื่อการอสน ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น

ศักดิ์ศรี  ปาณะกุล (2550: 6-7) กล่าวถึงคุณค่าของสื่อการเรียนรู้ต่อครู ดังนี้
1.   ช่วยสร้างบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ที่ดี  น่าสนใจ  สนุกสนาน  มีความน่าเชื่อถือจึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับครูได้เป็นอย่างดี  และนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ที่บรรลุเป้าหมายของครูในที่สุด
2.   ช่วยแบ่งเบาภาระการจัดการเรียนรู้  เช่น ทำให้ครูพูดน้อยลง  ถ่ายทอดเนื้อหาด้วยตนเองน้อยลง  โดยที่นักเรียนเรียนรู้ได้เองภายใต้การกำกับดูแลหรือเงื่อนไขของครู  ไม่ต้องเตรียมและสอนซ้ำซากเพราะได้เตรียมสื่อและวิธีการใช้สื่อไว้แล้วเป็นอย่างดี  จนทำให้สามารถนำไปใช้ในครั้งต่อ ๆ ไปได้ทันที
3.   ช่วยกระตุ้นให้ครูเตรียม  ผลิต  หรือพัฒนาสื่อใหม่ ๆ  รวมทั้งคิดค้นวิธีการที่น่าสนใจ
4.   ช่วยแก้ปัญหาและทดแทนสิ่งที่ครูไม่ถนัด  เช่น  พูดไม่เก่ง  จดจดข้อมูลได้ไม่มากพอ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง  และการปรากฏตัวต่อหน้าคนจำนวนมาก
5.   ช่วยให้ครูสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้หลากหลายรูปแบบ  สำหรับการสอนที่เป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย  และเป็นรายบุคคล  โดยอาศัยสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมประกอบ
6.   ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโดยตรง  เพราะทำให้ครูผู้สอนสามารถสอนได้เร็ว  ถูกต้องแม่นยำ ใช้เวลาสั้นลง  แต่ทำให้นักเรียนเรียนได้มากขึ้น
7.   ช่วยให้ครูมีปฏิสัมพันธ์และติดตามดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคล  เพราะใช้เวลาในด้านการบรรยายถ่ายทอดเนื้อหาสาระ  การเตรียมการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ น้อยลงจึงมีเวลาเพิ่มขึ้น
8.   ช่วยให้ครูสามารถวัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้ตรงจุดมุ่งหมายในทุกขั้นตอน
9.ช่วยให้ครูสามารถนำประสบการณ์จากแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่มากมายภายนอกห้องเรียนมานำเสนอต่อนักเรียนและทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ที่มีความหมาย
10. ช่วยให้ครูได้รับทราบผลป้อนกลับจากนักเรียน และนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสื่อและการจัดการเรียนรู้ของตนได้ตลอดเวลา

สิริพัชร์  เจษฎาวิโรจน์  (2550: 77)  กล่าวถึง  ประโยชน์ของสื่อการสอนต่อครู  ดังนี้
1.   ช่วยให้ความสะดวกแก่ครูในการสอน การสอนเป็นไปด้วยดี
2.   ช่วยผ่อนแรงในการอธิบาย  อธิบายได้ตรงประเด็น
3.   ช่วยประหยัดเวลาในการสอน    
4.   ช่วยให้ครูและนักเรียนมีความเข้าใจตรงกัน
5.   ช่วยให้ครูสังเกตปฏิกิริยานักเรียนได้
6.   ช่วยให้ครูมีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น

สื่อในยุคปัจจุบัน
กิดานันท์  มลิทอง (2544: 2) กล่าวว่า  รูปแบบการศึกษาในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก  จากการเรียนนี้จึงต้องพัฒนาในห้องเรียนไปสู่การเรียนในห้องเรียนขนาดใหญ่และการศึกษาทางไกล  ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการพัฒนาสื่อการสอนโดยการนำสื่อเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้เพื่อให้ครูและนักเรียนสามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เช่น
1.การใช้กล้องโทรทัศน์ถ่ายทอดการสอนจากครูคนเดียวไปยังนักเรียนจำนวนมากที่อยู่ในห้องเรียนต่างๆ
2.การใช้เครื่องวิชวลไลเซอร์และเครื่องแอลซีดีถ่ายทอดเนื้อหาและภาพจากวัสดุขนาดเล็กให้ฉายขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้ชมได้อย่างชัดเจนทั่วถึง
3.การใช้เครื่องแอลซีดีถ่ายทอดข้อมูลจากคอมพิวเตอร์บนจอภาพ
4.การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนและฝึกอบรมในรูปแบบเว็บเพื่อการศึกษา
5.การใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการเรียนการสอนและฝึกอบรม  รวมถึงการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลก
6.การใช้ดาวเทียมถ่ายทอดการสอนจากสถาบันการศึกษาหนึ่งไปยังสถาบันต่างๆ ที่อยู่ห่างไกล
7.การวางระบบแลน  (local  area  network)  เพื่อสร้างเครือข่ายภายในสถาบันการศึกษาในการติดต่อและใช้ทรัพยากรร่วมกัน
8.การพัฒนาระบบเครือข่ายและซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษาทางไกลในรูปแบบการสื่อสาร 2 ทางในลักษณะการประชุมทางไกล  (teleconference)

ประเภทของสื่อการสอน
สื่อการสอนมีหลายประเภท  และมีการจำแนกประเภทโดยใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน  สิริพัชร์  เจษฎาวิโรจน์  (2550: 71-72)  จำแนกประเภทของสื่อได้เป็น  6  ประเภทใหญ่ๆ  ดังนี้
1.  สื่อสิ่งพิมพ์  มีทั้งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นเพื่อสนองการเรียนรู้ตามหลักสูตรโดยตรง  เช่น  หนังสือเรียน  คู่มือครู  แผนการเรียนรู้  หนังสืออ้างอิง  หนังสืออ่านเพิ่มเติม  แบบฝึกกิจกรรม  ใบงาน  ใบความรู้  ฯลฯ  และสิ่งพิมพ์ทั่วไปที่สามารถนำมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้  เช่น  วารสาร  นิตยสาร  จุลสาร  หนังสือพิมพ์  จดหมายข่าว  โปสเตอร์   แผ่นพับ  แผ่นภาพ  เป็นต้น
2.  สื่อบุคคล  หมายถึง  ตัวบุคคลที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดสาระความรู้  แนวคิด  และวิธีปฏิบัติตนไปสู่บุคคลอื่น  นับเป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีบทบาทสำคัญ  โดยเฉพาะในด้านการโน้มน้าวจิตใจของนักเรียน  สื่อบุคคลอาจเป็นบุคลากรที่อยู่ในสถานศึกษา  เช่น  ผู้บริหาร  ครู  บุคลากรทางการศึกษา  คนทำอาหาร  หรือตัวนักเรียนเอง  หรืออาจเป็นบุคลากรภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ  
3.  สื่อวัสดุ  เป็นสื่อที่เก็บสาระความรู้อยู่ในตัวเอง  จำแนกออกเป็น 2  ลักษณะ  คือ
3.1  วัสดุประเภทที่สามารถถ่ายทอดความรู้อยู่ได้ด้วยตัวเอง  โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วย เช่น  รูปภาพ  หุ่นจำลอง  เป็นต้น
3.2  วัสดุประเภทที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้โดยตนเองจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย  เช่น  ฟิล์มภาพยนตร์  เทปบันทึกเสียง  ซีดีรอม  แผ่นดิสก์  เป็นต้น
4. สื่ออุปกรณ์  หมายถึง  สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่าน  ทำให้ข้อมูลหรือความรู้ที่บันทึกในวัสดุสามารถถ่ายทอดอกมาให้เห็นหรือได้ยิน  เช่น  เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส  เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องคอมพิวเตอร์  เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น
5.  สื่อบริบท เป็นสื่อที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนการสอน  ได้แก่  สภาพแวดล้อม และสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ห้องเรียน  ห้องปฏิบัติการ  แหล่งวิทยาการหรือแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น  ห้องสมุด  หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในรูปของสิ่งมีชีวิต  เช่น  พืชผัก  ผลไม้ สัตว์ชนิดต่างๆ หรืออยู่ในรูปของปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นรอบตัว  ตลอดจนข่าวสารด้านต่างๆ เป็นต้น
6.  สื่อกิจกรรม  เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการที่จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียน  ได้แก่  การแสดงละคร  บทบาทสมมติ  การสาธิต  สถานการณ์จำลอง การจัดนิทรรศการ  การไปทัศนศึกษานอกสถานที่  การทำโครงงาน

(http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503780/Unit04/unit04_006.htm.)
ได้กล่าวถึงววิธีสอนโดยการใช้สื่อไว้ว่า
หลักการเลือกสื่อการสอน
การเลือกสื่อการสอนเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด จำเป็นจะต้องมีจุดประสงค์ในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสม ซึ่งหลักการเลือกสื่อการสอนมี ดังนี้
1. สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ และเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาวิชานั้นได้ดี เป็นลำดับขั้นตอน
3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจน และเป็นจริง
6. มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลา และการลงทุน

หลักการใช้สื่อการสอน
1. เตรียมตัวผู้สอน เป็นการเตรียมความพร้อมของตัวผู้สอนในการใช้สื่อการสอน โดยการทำความเข้าใจในเนื้อหาที่มีในสื่อ ขั้นตอน และวิธีการใช้สื่อ เป็นต้น
2. เตรียมจัดสภาพแวดล้อม เช่น สถานที่ ห้องเรียน ห้อง Lab วัสดุอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ และสิ่อำนวยความสะดวกต่างๆ
3. เตรียมตัวผู้เรียน  เพื่อให้มีความพร้อมที่จะเรียน อาจมีการทดสอบ มีการอธิบายวิธีการใช้สื่อ อุปกรณ์  เครื่องมือต่างๆบอกวัตถุประสงค์ แนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดของเนื้อหาในสื่อนั้นๆ เป็นต้น
4. การใช้สื่อให้เหมาะกับขั้นตอนและวิธีการ  ตามที่ได้เตรียมไว้แล้ว และควบคุมการนำเสนอสื่อ เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น
5. การติดตามผล ( Follow Up ) หลังจากการใช้สื่อการสอนแล้ว ควรมีการติดตามผลเพื่อเป็นการทดสอบว่า ผู้เรียนเข้าใจบทเรียน และเรียนรู้ จากสื่อที่นำเสนอไปนั้นอย่างถูกต้องหรือไม่ เช่น การให้ผู้เรียนตอบคำถาม อภิปราย ทำรายงาน เป็นต้น  เพื่อผู้สอนจะได้ทราบจุดบกพร่อง สามารถ นำมาแก้ไขปรับปรุงสำหรับการสอนในครั้งต่อไป         

ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน
การใช้สื่อการสอนนั้นอาจจะใช้เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการสอน หรือจะใช้ทุกขั้นตอนก็ได้ ดังนี้
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียนนั้น  สื่อที่ใช้ในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่แสดงเนื้อหากว้างๆ หรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในครั้งก่อน  ยังมิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะลึกอย่างแท้จริง และควรเป็นสื่อที่ง่ายต่อการนำเสนอในระยะเวลาอันสั้น เช่น ภาพ บัตรคำ เป็นต้น
2. ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน  เป็นขั้นที่จะให้ความรู้ เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนควรเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหา และวิธีการสอน ต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนการใช้สื่อให้เหมาะและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน การใช้สื่อในขั้นนี้ จะต้องเป็นสื่อที่เสนอความรู้อย่างละเอียดถูกต้องและชัดเจนแก่ผู้เรียน เช่น สไลด์  แผนภูมิ วีดิทัศน์ เป็นต้น
3. ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ  เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่  ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองนำความรู้ที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขั้นฝึกหัด โดยการลงมือ ฝึกปฏิบัติเอง สื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหาให้ผู้เรียนได้ขบคิด โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อเองมากที่สุด เช่น ภาพ บัตรปัญหา สมุดแบบฝึกหัด เป็นต้น
4. ขั้นสรุปบทเรียน  เป็นการย้ำเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ  ที่ถูกต้อง  และตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ขั้นสรุปควรใช้เวลาเพียงสั้นๆ สื่อที่สรุปจึงควร  ครอบคลุมเนื้อหาสำคัญทั้งหมด เช่น แผนภูมิ แผ่นโปร่งใส เป็นต้น
5. ขั้นประเมินผู้เรียน  เป็นการทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียนไปถูกต้องมากน้อยเพียงใด และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ สื่อในขั้นการประเมินนี้มักจะเป็นคำถามจากเนื้อหาบทเรียนโดยอาจมีภาพประกอบด้วยก็ได้

สรุปวิธีการสอนโดยใช้สื่อ (Medai)
สื่อและวัสดุอุปกรณ์การสอนเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปด้วยดี  การสอนที่มีการใช้วัสดุ อุปกรณ์ประกอบการเรียนนอกจากจะทำให้นักเรียนเห็นความเป็นรูปธรรมของสิ่งที่ครูสอนและเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจของนักเรียนให้เด่นชัดและง่ายขึ้นแล้วการสอนที่มีการใช้วัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนยังช่วยเพิ่มบรรยากาศของการสอนให้น่าสนใจ  เนื่องจากมีการแปรเปลี่ยนสิ่งเร้าหลายๆ อย่าง และครูยังสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ กระตุ้นให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างสนุกสนานอีกด้วย  การใช้สื่อประกอบการสอนจะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับวิธีการเตรียม การเลือก และการใช้ของผู้สอนแต่ละครั้งเป็นสำคัญ
การที่ผู้สอนเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนอย่างมาก คือ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียน ซึ่งจะเป็นแนวทางให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเกิดประโยชน์ ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างทั่งถึง  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดแนวคิดและความเข้าใจถูกต้อรวดเร็ว ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อการสอน  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการจำสิ่งต่างๆได้นาน แม่นยำและถูกต้อง และนอกจากนี้การใช้สื่อการสอนมีส่วนช่วยในการเพิ่มพูนประสบการณ์เดิมของผู้เรียนและเปลี่ยนทัศนคติไปในทางที่พึงปรารถนาได้


การเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพนั้น ไม่เพียงแต่จะมีประโยชน์แต่กับผู้เรียนเท่านั้น แต่ยังจะมีประโยชน์ต่อผู้สอนอีกด้วย กล่าวคือ สามารถช่วยสร้างบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ที่ดี น่าสนใจ สนุกสนาน ช่วยแบ่งเบาภาระการจัดการเรียนรู้  กระตุ้นให้ครูเตรียมสร้างสิ่งใหม่ๆ ช่วยแก้ปัญหาและทดแทนในสิ่งที่ครูไม่ถนัด ช่วยให้ครูสามารถจัดประสบการณ์เรียนรู้ได้หลากหายรูปแบบ  เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโดยตรง ช่วยให้ครูมีปฏิสัมพันธ์และติดตามดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคล  ช่วยให้ครูสามารถวัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้ตรงจุดมุ่งหมายในทุกขั้นตอน ช่วยให้ครูสามารถนำประสบการณ์จากแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่มากมายภายนอกห้องเรียนมานำเสนอต่อนักเรียนและทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ที่มีความหมาย และช่วยให้ครูได้รับทราบผลป้อนกลับจากนักเรียน และนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสื่อและการจัดการเรียนรู้ของตนได้ตลอดเวลา

อ้างอิง
นายวีระพงศ์ ล่องลอย.
[online].(https://www.gotoknow.org/user/werapongloy/profile.).ทักษะการใช้สื่อการ         สอน.สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2558.
อูมัยกือซง หะระตี.
[online].(http://umiakesung.blogspot.com/p/blog-page_6355.html.).เทคนิคการใช้สื่อ        การสอนสืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2558.
(http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503780/Unit04/unit04_006.htm.).                                       สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2558.